ความเชื่อเกี่ยวกับพระปริตรและการสะเดาะเคราะห์ของชาวพม่า

วิธีสะเดาะเคราะห์ตามปีเกิด

สะเดาะ คือ การทำให้หลุดออก และคำว่า เคราะห์ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากเป็นเรื่องดีก็ถือว่าเป็นโชค (เคราะห์ดี) หากเป็นเรื่องร้ายก็ถือว่าเป็นเคราะห์ และคำว่าเคราะห์ในที่นี้ยังหมายถึงดาวพระเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ในระบบสุริยะจักรวาลของเราอีกด้วย

เจตนาของคำว่า “สะเดาะเคราะห์” มุ่งหมายในทางปรับปรุงแก้ไขดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษต่อดวงชะตาให้ลดโทษหายโทษ หรือเป็นการทำญาติดีกับดาวพระเคราะห์ เพื่อขอลดหย่อนโทษ เมื่อเป็นพรรคพวกกันแล้วก็คงจะมีเมตตาต่อกันไม่รังแกกัน หากทำญาติดีหรือเข้าหุ้นส่วนกันไม่สำเร็จ อีกทางหนึ่งที่ช่วยได้ ก็คือ การสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอบุญบารมีและความดี มาคุ้มครองให้ตนเองพ้นโทษจากดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษกับดวงชะตา ณ ขณะนั้น และอีกวิธีหนึ่งก็คือ สร้างบุญใหม่ให้เกิดขึ้น เช่น การทำบุญ การให้ทาน การถือศีล สวดมนต์ ทำสมาธิ เพื่อให้บุญใหม่ที่ได้กระทำลงไปนั้น มาช่วยคุ้มครองดวงชะตาให้รอดพ้นจากเคราะห์ร้ายต่างๆ

ในทางโหราศาสตร์พม่านั้นกำหนดเอาตัวของเจ้าชะตาที่ประกอบด้วยอาการ (อวัยวะ) ทั้ง 32 ประกอบด้วยธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ไม้ ไฟ ทอง มาปรุงแต่งให้ธาตุต่างๆ สมดุลกัน เช่น การกินอาหารเพื่อเพิ่มธาตุที่ขาดไป หรือการงดไม่กินอาหารที่จะเพิ่มธาตุที่ก่อให้เกิดโทษแก่รางกายได้ ยังรวมถึงอาภรณ์เครื่องประดับสิ่งของ และทิศทางที่เป็นมงคลแก่ชะตาด้วย

• • • • •

ความเชื่อเกี่ยวกับพระปริตรและการสะเดาะเคราะห์ของชาวพม่า

พม่าประกาศให้สังคมโลกรับรู้ว่า ประเทศพม่าเป็น “แผ่นดินทอง” ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับความเป็น “แผ่นดินแห่งพุทธศาสนา” และ “แผ่นดินแห่งพุทธเจดีย์” รวมอยู่ด้วย โดยพม่าได้หมายเอาพระเจดีย์สีทองอร่ามอย่างพระเจดีย์ชเวดากองเป็นเอกลักษณ์ของแผ่นดินพม่า พระเจดีย์จึงเป็นภาพลักษณ์ในเชิงวัตถุที่แสดงว่าพม่าเป็น ”เมืองพุทธ” ในทำนองเดียวกันชาวพม่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธก็แสดงรูปแบบของพุทธศาสนิกชนไว้อย่างเด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความนิยมในการเดินทางแสวงบุญ การบวชเรียน การสวดมนต์ การปฏิบัติวิปัสสนา และการจัดประเพณีทางศาสนา แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระและเป้าประสงค์ของการปฏิบัติบูชาทั้งหลายของชาวพุทธพม่าแล้ว มีหลายประเด็นที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์โดยชาวพม่าด้วยกันเองอยู่บ่อยว่าไม่เหมาะสมกับวิถีพุทธที่ถูกต้อง ราวกับว่าชาวพุทธพม่าส่วนใหญ่กำลังเดินผิดแนวทางของพุทธศาสนา ในบทนี้จึงขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจสองเรื่อง คือ การสวดพระปริตร และการสะเดาะเคราะห์ของชาวพม่า ในประเด็นแรกนั้นเป็นการใช้บทพุทธคุณเพื่อการป้องกันภยันตราย ส่วนประเด็นหลังเป็นความเชื่อในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการสะเดาะเคราะห์กับองค์พระเจดีย์และพระพุทธรูป ทั้งสองประเด็นจะช่วยให้มีความเข้าใจสังคมพุทธแบบพม่าได้ในอีกมิติหนึ่ง ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นวิถีพุทธแบบชาวบ้าน

ความเชื่อเกี่ยวกับพระปริตร

ในยุคที่ประเทศพม่ายังปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ (ก่อน ค.ศ. ๑๘๘๖) พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนับว่ารุ่งเรืองอย่างสืบเนื่องด้วยการอุปถัมภ์ของราชสำนักพม่า พระเจ้ามินดง   (ค.ศ. ๑๘๕๒ –๑๘๗๘ ) กษัตริย์พม่าปลายสมัยคองบอง นับเป็นกษัตริย์พม่าพระองค์หนึ่งที่ทรงสนพระทัยในกิจทางศาสนา คราหนึ่งพระองค์ได้ทรงจัดให้มีพระราชพิธีสวดพระปริตรในนครมัณฑะเล โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ชื่อดังจากวัดต่างๆมาร่วมทำพิธีดังกล่าว ในงานมีผู้ร่วมพิธีทั้งที่เป็นวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชบริพารร่วมสดับฟังการสวดพระปริตรกันอย่างพร้อมพรั่ง ตามความเชื่อของชาวพม่า การได้ฟังบทสวดพระปริตรจะช่วยให้ได้อานิสงส์อย่างยิ่ง พม่าถือว่าพระปริตรเป็นดุจคาถามนตราอันศักดิ์สิทธิ์ สามารถปัดเป่าเภทภัยและป้องกันภยันตรายต่างๆได้ การสวดพระปริตรที่พระราชวังมัณฑะเลในคราวนั้นก็คงด้วยพระเจ้ามินดงทรงประสงค์จะให้เป็นเครื่องคุ้มกันภัยให้กับพระนครของพระองค์

เมื่อพระสงฆ์สวดพระปริตรจบ พระเจ้ามินดงได้ทรงถามพระสังคชาสงฆ์รูปหนึ่งว่า “ในสมัยพระเจ้าสิริธัมมาโสกนั้น มีบันทึกไว้ว่าในเวลาที่พระมหาโมคัลลิบุตติสสะสวดพระปริตรนั้น น้ำพระปริตรเดือดขึ้นได้ แต่เหตุใดการสวดพระปริตรคราวนี้ น้ำพระปริตรจึงกลับนิ่งไม่สั่นไหวแม้แต่นิด ฤาพระสงฆ์ซึ่งร่วมสวดพระปริตรครานี้ต่างไม่มั่นอยู่ในสมาธิ”

พระสังคชาได้ทูลถวายว่า “พระเจ้าสิริธัมมาโสกนั้น เป็นพระราชาผู้ทรงอานุภาพสูงส่ง จนสามารถเรียกหมู่นาคให้มาสยบได้ด้วยซ้ำ และพระสงฆ์เหล่านี้ก็มิอาจเทียบได้กับพระมหาโมคัลลิบุตติสสะ น้ำพระปริตรนี้จึงจะเดือดได้ฉันใด แม้มหาบพิตรเองผู้ซึ่งเป็นถึงเจ้าแห่งแผ่นดินและผืนน้ำ ไฉนเลยจะทรงเรียกนาค แม้งูปลาก็ไม่อาจทรงเรียกมาได้ ด้วยเหตุนี้ พระองค์อย่าได้ทรงกังวลเลยว่าน้ำพระปริตรจะเดือดหรือไม่”

พระสังคชาคงจะพยายามอธิบายให้พระเจ้ามินดงทรงเห็นว่า การประเมินพระราชอำนาจของพระราชา ใช่ว่าจะดูเพียงอานุภาพในการสยบนาคเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน การประเมินศีล สมาธิ และปัญญาของสงฆ์ โดยดูจากน้ำพระปริตรว่าจะเดือดหรือไม่นั้น ก็ไม่น่าจะสมด้วยเหตุและผล

เนื้อความที่เกริ่นมาข้างต้นนี้ เป็นประเด็นที่นักเขียนพม่าผู้หนึ่ง ซึ่งใช้นามปากกาว่า วีงเตงอู นำเสนอไว้ในงานเขียนของเขา เพื่อคัดค้านความเชื่อที่คลาดเคลื่อนไปจากแนวทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของชาวพม่าในปัจจุบัน วีงเตงอูได้แสดงทัศนะของเขาเป็นบทความย่อยๆ ลงอย่างต่อเนื่องในวารสารธรรมรังสี ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๙๐ ถึง ๑๙๙๔ และเขาได้ยกประเด็นการเดือดของน้ำพระปริตรมาเป็นข้อพิจารณาเรื่องหนึ่ง หลังจากที่วีงเตงอูเสนอบทความแสดงทัศนะที่ทวนกระแสสังคมโดยแย้งกับความเชื่อหลายอย่างของชาวพุทธพม่าทั่วไปนั้น เขากล่าวว่าได้รับทั้งคำสนับสนุน และคำคัดค้านพร้อมกับคำประณามจากพระสงฆ์และฆราวาสพอๆกัน ที่จริงวิธีการเขียนของวีงเตงอูเป็นการแสดงทัศนะที่นุ่มนวล เขาแสดงทัศนะอย่างค่อนข้างระวัง แบบชวนให้คิด มากกว่าที่จะวิพากษ์สังคมพุทธพม่าอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม บทความของวีงเตงอูกลับช่วยสะท้อนโลกทัศน์ทางความเชื่อของชาวพุทธพม่าปัจจุบันได้อย่างชัดเจน

ในกรณีของความเชื่อของคนพม่าต่อบทสวดพระปริตร(xib9Ng9kN)ซึ่งมี ๑๑ บทนั้น วีงเตงอูมิได้ลดค่าของบทสวดดังกล่าว และมิได้ขัดขวางการสวดพระปริตรแต่อย่างใด เขาเพียงแต่อยากให้ชาวพม่าที่หลงคิดว่าพระปริตรเป็นดุจคาถามนตรา ที่จะช่วยให้เกิดศิริมงคล ดูดทรัพย์ ให้ลาภ และค้าขายคล่องเหล่านั้น หันมาให้ความสำคัญต่อความเข้าใจในเนื้อหาของพระปริตร แต่ในทางกลับกัน ชาวพุทธพม่าส่วนใหญ่มักเพียงพยายามท่องพระปริตรให้ชัดถ้อยชัดคำเท่านั้น โดยหาได้สนใจเนื้อความที่ว่าไว้ในบทสวดนั้น อีกทั้งมักเข้าใจว่าพระปริตรคือเครื่องรางที่จะช่วยคุ้มกันภัยอันเกิดจากสิ่งร้ายนานา อาทิ โรคภัยไข้เจ็บ มารร้าย ภูติผี ฝันร้าย ศัตรู สัตว์มีพิษ อัคคีภัย ทุกข์เข็ญ การคลอดบุตร การสู้รบ และอุปสรรคต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้วีงเตงอูยังได้หยิบยกข้อมูลมายืนยันอย่างหนักแน่นว่าการสวดเพื่อวิงวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างที่ชาวพม่านิยมปฏิบัติกันอยู่นั้น แท้จริงคือการยอมรับความเชื่ออย่างลัทธิพราหมณ์ หรืออาจชะรอยไปคล้อยกับลัทธิตันตระของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หาใช่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไม่ พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทสอนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา   อีกทั้งปฏิเสธความเชื่อในเรื่องพระผู้เป็นเจ้าที่จะช่วยเหลือหรือบันดาลสิ่งต่างๆให้กับมนุษย์ วีงเตงอูเห็นว่าชาวพุทธพม่าส่วนมากดำเนินชีวิตผิดไปจากแนวทางของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่พม่ารับไว้เป็นที่พึ่งหลักนับแต่สมัยพระเจ้าอโนรธาเป็นต้นมา การที่พุทธศาสนาซึ่งเป็นสถาบันหลักอันหนึ่งของชาติผิดเพี้ยนไปจึงเป็นสิ่งที่เขาเรียกร้องให้ชาวพุทธช่วยกันตรวจสอบตนเองอย่างแยกแยะเพื่อให้พ้นจากลัทธิพิธีนอกพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม ทัศนะของวีงเตงอูนับว่าฝืนต่อความรู้สึกของชาวพุทธพม่าโดยทั่วไป ที่ต่างคุ้นเคยกับการนำพระปริตรมาเป็นเครื่องคุ้มครองและป้องกันภัย และคงยากมากที่คนพม่าส่วนใหญ่จะคล้อยตามความคิดของเขา แม้เรื่องของพระเจ้ามินดงที่วีงเตงอูยกมายืนยันถึงความไม่เข้าใจในอานุภาพของพระปริตรนั้น   กลับชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ว่าน้ำพระปริตรอาจเดือดได้ ถ้าบังเกิดผู้มีบารมีเสมอด้วยพระเจ้าสิริธัมมาโสกและพระมหาโมคัลลิบุตติสสะ ยิ่งด้วยเคยมีปรากฏการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ความเชื่อในอานุภาพของพระปริตรยิ่งเข้มข้นขึ้น ดังมีเหตุการณ์เล่าลือกันว่าสงฆ์พม่ารูปหนึ่ง เป็นพระธรรมจาริกแห่งภูเขาฉิ่น คือ พระอุตตมะสาระ กล่าวกันว่าท่านเจริญด้วยเมตตาบารมี และได้เคยแสดงฤทธิ์ด้วยการเสกน้ำพระปริตรให้เดือดเป็นที่ประจักษ์จนเลื่องชื่อ ถึงแม้พระสงฆ์รูปนี้จะมรณภาพไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้   แต่สถานีวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐบาลปัจจุบันยังคงนำเสียงบทสวดพระปริตรทั้ง ๑๑ บทของท่านเวียนออกอากาศในเวลาเปิดรายการทุกเช้าเป็นประจำ สิ่งนี้ยืนยันได้ชัดถึงความเชื่อมั่นของชาวพุทธพม่าต่ออำนาจวิเศษแห่งพระปริตร

หากกล่าวถึงประสบการณ์ของชาวพม่าที่ได้จากการสวดและการฟังพระปริตรนั้น ชาวพม่าหลายคนยืนยันว่าได้รับอานิสงส์จริง   ถึงคราวที่เจ็บป่วยไม่สบาย การเดินทางมีอุปสรรค ฝันร้าย ก่อนคลอดบุตร ก่อนสอบ สมัครงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ชาวพม่าจะเลือกบทสวดพระปริตรที่เหมาะสมจาก ๑๑ บทนั้น โดยจะสวดอย่างสม่ำเสมอจนพ้นช่วงวิกฤติของตน บางคนสวดพระปริตรทั้ง ๑๑ บททุกคืน บางคนจะทยอยสวดเป็นบางบทในแต่ละวันโดยจะสวดให้ครบทั้ง ๑๑ บทในแต่ละสัปดาห์ การสวดพระปริตรจึงกลายเป็นวิถีชีวิตของชาวพุทธพม่าให้ได้นึกถึงอำนาจพุทธคุณที่จะช่วยคุ้มครองตนอยู่เสมอ อีกทั้งปรากฏการณ์น้ำพระปริตรเดือดให้เห็นจริงในปัจจุบัน ยิ่งช่วยหนุนให้คนพม่าส่วนมากต่างเชื่อในฤทธิ์อำนาจแห่งพุทธคุณ โดยไม่ใส่ใจต่อความเห็นที่แย้งว่าการท่องบ่นพระปริตรมิอาจช่วยเพิ่มบุญกุศล ปัญญา หรือทรัพย์แก่ตนได้เลย

การที่ชาวพุทธพม่านิยมการปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสวดพระปริตรหรือบทพุทธคุณอื่นๆพร้อมกับการนับลูกประคำโดยมิได้ใส่ใจเนื้อหาในบทสวดนั้น อาจเป็นไปได้ว่าชาวพม่าทั่วไปชอบที่จะให้ความสำคัญต่อพิธีกรรมมากกว่าหลักธรรม เหตุหนึ่งอาจเนื่องมาจากความเข้าใจที่ว่า แม้จะยึดปฏิบัติตามหลักคำสอนในพุทธศาสนา ดังเช่น การดำเนินชีวิตด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญานั้นแล้วก็ตาม แต่ใช่จะมั่นใจได้ว่าชีวิตจะพบกับความสำเร็จได้เสมอไป เพราะชาวพม่าเชื่อว่ายังมีสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกว่านี้อีก สิ่งนั้นคือ อดีตกรรม จึงเป็นเหตุให้ไม่อาจมั่นใจในการดำเนินชีวิตด้วยการประพฤติตามพุทธธรรมเพียงหนทางเดียว เหตุนี้จึงต้องทำให้หลักธรรมมีความศักดิ์สิทธิ์จนสามารถนำมาใช้แก้กรรมได้ ก็ด้วยการเสริมอานุภาพหรือฤทธิ์ให้กับหลักธรรมนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สำหรับชาวพุทธพม่าทั่วไปแล้ว หลักธรรมจึงไม่อาจเป็นเพียงแนวทางแห่งการหลุดพ้นเท่านั้น แต่ยังจะต้องเป็นไปเพื่อความอยู่รอดของชีวิตปัจจุบันได้ด้วย ส่วนเหตุที่พม่าเชื่อว่าพิธีการสวดพระปริตรเป็นเครื่องแก้กรรมและป้องกันอันตรายนั้น อาจเป็นเพราะชาวพุทธพม่าเชื่อในเรื่องอดีตกรรมที่ตายตัว และโชคชะตาที่อาจปรับเปลี่ยนได้ด้วยฤทธิ์วิเศษ แล้วนำมาผูกเป็นความเชื่อในอิทธิฤทธิ์ที่เนื่องด้วยอำนาจพุทธคุณ ความเชื่อเกี่ยวกับอานุภาพของการสวดหรือฟังพระปริตรจึงสะท้อนโลกทัศน์ของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญต่อพิธีกรรมหรือการบูชามากเสียจนลืมหลักแห่งการหยั่งรู้อริยสัจ โดยหันไปนิยมพึ่งพาอำนาจที่เหนือกว่า เพียงเพื่อให้ช่วยพลิกผันโอกาสหรือประคองชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น

ปัจจุบัน ความเชื่อถือในอานุภาพของบทสวดพระปริตรและอานิสงส์จากการฟังบทสวดดังกล่าวยังคงมีอยู่ในสังคมพม่าอย่างมั่นคง   เป็นตัวอย่างหนึ่งของความนิยมในการนำอำนาจพุทธคุณมาใช้ในวิถีชีวิตแบบชาวพุทธพม่า การยกข้อธรรมมาเป็นเครื่องคุ้มกันภัยดุจคาถามนตรานั้น นับเป็นปรากฏการณ์สามัญที่พบเห็นได้อย่างปกติในสังคมพม่า และอาจกล่าวได้ว่าชาวพุทธพม่ารับเอาพิธีกรรมของลัทธิศาสนาอื่นมาเป็นพุทธพิธีโดยมิได้แยกแยะอย่างที่วีงเตงอูพยายามชี้ให้เห็น หลักธรรมจึงถูกกำหนดเป็นบทสวดสำหรับวิงวอนขอความคุ้มครอง มากกว่าที่จะยึดเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ส่วนการกระจายเสียงบทสวดพระปริตรทั้ง ๑๑ บทของพระอุตตมะสาระ   ที่นำออกอากาศในช่วงเวลาเปิดรายการสถานีวิทยุและโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกเช้านั้น บ่งชัดถึงการยอมรับในอานุภาพแห่งพระปริตรโดยผ่านพิธีกรรมในระดับรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อและศรัทธาของประชาชนส่วนใหญ่ ที่ยังอาศัยความอบอุ่นจากศาสนาเป็นที่พึ่งสำคัญ

หากเทียบสมัยโดยย้อนนึกถึงคราวที่พระเจ้ามินดงจัดพระราชพิธีสวดพระปริตรที่นครมัณฑะเลเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เห็นจะต่างเพียงว่าน้ำพระปริตรในสมัยพระเจ้ามินดงนั้นไม่เดือด แต่กลับเดือดได้ในปัจจุบัน ปรากฏการณ์นี้จึงช่วยเพิ่มศรัทธาต่อพระปริตรได้สนิทใจ   และยังอาจมีส่วนช่วยเพิ่มความชอบธรรมต่ออำนาจรัฐได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากหวนนึกถึงคำกล่าวของพระสังคชาที่ทูลถวายต่อพระเจ้ามินดงเกี่ยวกับความไม่สมด้วยเหตุและผลต่อการเดือดของน้ำพระปริตร ตามที่โยงให้ไปสัมพันธ์กับสมาธิและอานุภาพนั้น ก็คงจะให้แง่คิดเป็นแนวทางในการตรวจสอบความเชื่อของชาวพุทธพม่าด้วยกันเอง และน่าจะสมกับเจตนาของวีงเตงอู ที่ประสงค์ให้ชาวพม่าหันมาดำเนินชีวิตอยู่ในแนวทางที่ต้องกับหลักธรรมของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อต่อบทสวดพุทธคุณอย่างพระปริตรนั้นจัดได้ว่าฝังลึกอยู่ในจิตใจของชาวพุทธพม่าส่วนใหญ่ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมาเนิ่นนาน ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะโต้แย้งการพึ่งพาบทสวดในแนวทางดังกล่าว เพียงโดยอ้างหลักของเหตุและผลเพื่อต้องการยืนยันหลักการของศาสนาอย่างผู้รู้   อีกทั้งสังคมพม่าไม่มีอิสระพอที่จะหันมาพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมทั้งหลายที่เอื้อให้สังคมพม่ายังจำเป็นต้องพึ่งพาศาสนาตามความเข้าใจอย่างชาวบ้าน ปัจจัยที่อาจต้องพิจารณาเป็นพิเศษได้แก่ ปัญหาทางการศึกษา เศรษฐกิจ และการเมือง จึงเป็นไปได้ว่า เหตุที่ชาวพม่าต้องหันไปคาดหวังกับศาสนากันมากโดยไม่รู้สึกขัดแย้งแต่อย่างไรนั้น ก็คงด้วยเพราะไม่อาจคาดหวังจากระบบดังกล่าวได้ดีพอนั่นเอง

การสะเดาะเคราะห์ด้วยฉัตร

การสะเดาะเคราะห์ หรือ ยะดะยา-เฉ่ (pE9kg-y) เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาของชาวพม่า ความนิยมนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับการดูดวงชะตา ซึ่งชาวพม่าส่วนมากยังมักต้องพึ่งพาอยู่เป็นนิตย์ ดังพบว่าในสิ่งตีพิมพ์ของพม่าประเภทนิตยสารรายสัปดาห์หรือรายเดือน จะต้องมีคอลัมน์ทำนายดวงชะตา พร้อมกับคำแนะนำสำหรับการสะเดาะเคราะห์ของผู้เกิดในแต่ละวันของสัปดาห์ วิธีการสะเดาะเคราะห์มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ ปล่อยนกปล่อยปลา เลี้ยงอาหารสัตว์ มอบสิ่งของให้ผู้อื่น กินผลไม้บางชนิด ทิ้งขยะให้พ้นจากบ้าน และถวายฉัตรต่อพระเจดีย์ เป็นต้น ในบรรดาคำแนะนำเพื่อการสะเดาะเคราะห์นั้น การถวายฉัตรต่อองค์พระเจดีย์ ดูจะเป็นข้อปฏิบัติที่กระทำกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะหากพบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆก็ตาม ชาวพม่ามักถือว่าการสะเดาะเคราะห์ด้วยวิธีดังกล่าวนี้เป็นบุญกริยาที่ประเสริฐสุด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงความเป็นมาของฉัตร และการประยุกต์ฉัตรเพื่อการสะเดาะเคราะห์ของชาวพุทธพม่าพอสังเขป

ในภาษาพม่า   คำเรียก ร่ม และ ฉัตร ใช้รากคำเดียวกันว่า ที (5ut) คำนี้จึงหมายถึงร่มกันแดดกันฝนธรรมดาก็ได้   หรือหมายถึงเครื่องสูงที่ใช้บอกฐานะหรือบรรดาศักดิ์ และยังหมายถึงเครื่องประดับที่อยู่บนส่วนยอดของพระเจดีย์ได้ด้วย

ในอดีตพม่ามีกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง และสิ่งที่เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็คือ เศวตฉัตร หรือ ฉัตรขาว ซึ่งพม่าจะเรียกว่า ที-ผยู่ (5utez&) แปลว่า “ร่มขาว” สำหรับขุนนางก็จะมีฉัตรแสดงบรรดาศักดิ์ อาทิ ขุนนางชั้นสูงจะมีฉัตรแดงเป็นเกียรติยศ เป็นต้น พม่าถือว่าเศวตฉัตรเป็นสิ่งคู่กับองค์พระมหากษัตริย์ ราชบังลังก์ที่ไร้ฉัตรจึงหมายถึงการหมดสิ้นแห่งอำนาจและบารมี ดังตอนที่ราชวงศ์ของพม่าล่มสลายด้วยการยึดครองของอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๘๕ นั้น พม่าถึงกับเปรียบการสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ครั้งนั้นว่า ฉัตรหัก หรือ ทีโจ (5utdy7bt) อย่างไรก็ตาม แม้พม่าจะไม่มีสถาบันกษัตริย์อีกแล้ว แต่พม่ายังคงมีการใช้ฉัตรขาวเป็นเครื่องบอกบรรดาศักดิ์สำหรับพระสงฆ์

สำหรับฉัตรที่ประดับยอดพระเจดีย์แบบพม่านั้น เรียกว่า พระฉัตร หรือ ทีด่อ (5utg9kN) เจดีย์แบบพม่าจะต้องมีฉัตร และในการสร้างเจดีย์จะมีการทำพิธีอัญเชิญพระฉัตร ซึ่งถือเป็นพิธีสำคัญและจะต้องกระทำเป็นลำดับสุดท้าย ดังเมื่อเดือนเมษายนของปีนี้ (พ.ศ.๒๕๔๒)   รัฐบาลพม่าได้จัดงานขึ้นฉัตรใหม่สำหรับพระเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นงานยกฉัตรที่ยิ่งใหญ่ ด้วยว่างเว้นมานานนับแต่สมัยพระเจ้ามินดง รัฐบาลพม่าจัดงานนี้อย่างเอิกเกริก โดยใช้เวลาเตรียมงานหลายเดือน   และใช้เวลาเพื่ออัญเชิญพระฉัตรถึง   ๓ วัน และยังจัดงานฉลองพระฉัตรอีกนับ ๑๐   วัน   นับเป็นงานหลวงที่สามารถเรียกศรัทธาจากชาวพุทธพม่าทั่วประเทศได้มาก   ในพิธีมีผู้คนมาร่วมบริจาคแก้วแหวนเงินทองสำหรับประดับพระฉัตรกันมากมาย จนของบริจาคมากล้นเหลือ และต้องนำไปจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เสียส่วนหนึ่ง

พม่าถือว่าฉัตรที่ยอดพระเจดีย์เป็นดุจร่มที่กางกั้นเจดีย์ให้บังเกิดความร่มเย็น ชาวพม่ายังเชื่ออีกว่าการบูชาด้วยฉัตรเป็นการทำบุญที่ได้กุศลมากกว่าการทำบุญอื่นใด จึงเชื่อว่าหากมีวาสนาได้ถวายพระฉัตรแด่องค์พระเจดีย์ ชีวิตก็จะมีแต่ความร่มเย็น   และประสบแต่ความสำเร็จ ทุกวันนี้ชาวพม่ายังนิยมถวายฉัตรแด่องค์เจดีย์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมิใช่เป็นฉัตรเงินหรือฉัตรทองแท้ ๆ ฉัตรแบบนี้จะทำด้วยกระดาษสีเงิน สีทอง สีขาว สีเหลือง หรือสีเขียว ซึ่งมีจำหน่ายที่ร้านค้าแถวองค์เจดีย์ สีของฉัตรต่างมีความหมาย หากเป็นสีทองหรือสีเงินจะแสดงถึงความมั่งมี แต่ถ้าเป็นสีขาวจะแสดงถึงความสงบสุข เป็นต้น ชาวพุทธพม่านิยมบูชาพระเจดีย์ด้วยฉัตรประเภทนี้ เพื่อแก้เคล็ดหรือสะเดาะเคราะห์ ดังกรณีที่ประสบเคราะห์ร้าย ชาวพุทธพม่ามักจะต้องถวายฉัตรกระดาษแด่พระเจดีย์ และในการตั้งเครื่องหมู่บูชาพระเจดีย์ ซึ่งพม่าเรียกว่า กะเดาะ-บแว (doNg9kHx:c) มักจะต้องปักฉัตรไว้ที่สำรับบูชานั้นด้วย เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้พรที่ขอเกิดผลสัมฤทธิ์   (ตามคติของพม่านั้น เครื่องบูชาที่มีฉัตรประดับจะถือว่าเป็นเครื่องบูชาในฝ่ายศาสนา ต่างจากการบูชาเทพนัต ซึ่งชาวพม่าไม่นิยมใช้ฉัตรมาประกอบเครื่องบูชา) การถวายฉัตรที่ทำด้วยกระดาษนี้   จึงต่างไปจากการถวายพระฉัตรสำหรับยอดพระเจดีย์   ที่ทำเพื่อสืบพระศาสนาหรือเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่การถวายฉัตรกระดาษสี จะเป็นเพื่อการขอความคุ้มครอง   และเพื่อความสงบสุขในชีวิตสำหรับผู้ถวาย

ฉัตรจึงถูกใช้ในหลายหน้าที่ เป็นทั้งเครื่องแสดงฐานะของกษัตริย์ เครื่องบอกยศศักดิ์ของขุนนางชั้นสูง เครื่องแสดงเกียรติยศสำหรับพระสงฆ์ และเป็นเครื่องประดับยอดพระเจดีย์ ตลอดจนนิยมใช้ฉัตรประกอบเครื่องบูชาสำหรับพิธีสะเดาะเคราะห์และขอพร การที่พม่าพัฒนาการถวายฉัตรแด่องค์พระเจดีย์จนถึงขั้นนี้นั้น อาจเป็นเพราะฉัตรเป็นเครื่องหมายแห่งอำนาจและบุญบารมี อันจะนำมาซึ่งความมั่งมีและความร่มเย็นในชีวิต ซึ่งเป็นโลกียสุขที่ปุถุชนต่างปรารถนา

ความเชื่อเกี่ยวกับการสะเดาะเคราะห์ด้วยฉัตร และป้องกันภัยด้วยการสวดพระปริตร นับเป็นตัวอย่างของความเชื่อในอำนาจบุญกุศลและพุทธคุณของชาวพุทธพม่า อันจะช่วยให้เข้าใจวิถีพุทธแบบชาวบ้านในอีกมิติหนึ่ง และแม้ว่าวิถีพุทธแบบพม่าในประเด็นดังกล่าวนั้นอาจดูไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนักก็ตาม แต่พุทธศาสนาในวิถีแบบชาวบ้านนั้นกลับมีบทบาทต่อสังคมพม่าอย่างมาก จนแม้แต่ฝ่ายรัฐเองก็ให้ความสำคัญต่อพุทธศาสนาในรูปแบบดังกล่าวไม่ยิ่งหย่อนไปจากฝ่ายประชาชนพม่านัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวพม่าต่างมีความเข้าใจต่อพุทธศาสนาในฐานะของพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการค้ำจุนชีวิต ส่วนภาครัฐเองก็ประยุกต์พุทธพิธีให้เป็นรัฐพิธีที่สอดคล้องกับความเชื่อและความต้องการของประชาชน ดังนั้น การท่องบ่นพุทธคุณเพื่อป้องกันภัยนานาชนิด และการถวายฉัตรเพื่อปัดรังควาญต่างๆ จึงเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่สะท้อนความเชื่อแบบหนึ่งของพม่า

•••••••••••••••••••••••••

เทียนบูชา…ไสยศาสตร์ พลังอาถรรพณ์วัดพระสิงห์

“เชื่อแต้ ศรัทธาแต้ ตึงดีแต้”…พิธีสืบชะตาตามความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมายาวนาน มรดกจากบรรพบุรุษ “จุดเทียน” บูชาไสยศาสตร์… เครื่องรางอาถรรพณ์แห่งล้านนา ด้วยเชื่อว่าการเขียนอักขระโบราณอักษรล้านนาจะช่วยให้รอดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย

อีกทั้งยังเป็นพิธีกรรมที่เสมือนเป็นยาวิเศษครอบจักรวาล… “สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา บูชาโชค พระเมตตา บูชาราหู” ง่าย…ทำแล้วได้ผล…จวบจนถึงทุกวันนี้

ในการทำวิชาทางไสยศาสตร์สายล้านนานั้น “เทียนบูชา” ก็เป็นอีกสายวิชาหนึ่งที่เห็นผลและนิยมทำกันมากมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นวิชาที่มีเสน่ห์และพลังในตัวเอง มีคุณวิเศษที่ยากต่อการอธิบาย แม้แต่สิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เทียนบูชาก็ยังสร้างสิ่งเหนือธรรมชาติได้เช่นกัน

กล่าวกันว่า…เทียนบูชานั้นไม่มีประวัติการสร้างว่านิยมทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่คนล้านนามี ความเชื่อและยึดมั่นในเทียนล้านนาเป็นอย่างมาก ส่วนในทางพุทธคุณนั้น ก็จะมีความเชื่อในเรื่องของการช่วยพลิกผันหนุนดวงต่อชะตาให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง กลับจากร้ายให้กลายเป็นดี ลดเคราะห์หลีกภัย

ชนะคดีความ ศัตรูคู่แข่ง ขับคุณไสย ไล่อัปมงคล ภูตผีวิญญาณร้ายต่างๆมิให้มาแผ้วพานใกล้ตัวผู้บูชา…ให้บังเกิดแต่โชคลาภ โภคทรัพย์ มั่งมีเงินทอง ไม่ขัดสน ธุรกิจการงานราบรื่น เจริญก้าวหน้า …หรือผู้ใดกำลังจะมีโชคมีลาภแต่เหมือนว่ามีอะไรกั้นขวางมาบดมาบังก็ให้นำเทียนสืบชะตาไปจุดบูชา

การบูชาเทียนเป็นประเพณีและคติความเชื่อของคนล้านนาที่ทำมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเชื่อกันว่าการทำเช่นนี้จะเกิดสิ่งดีๆกับชีวิตของตนเอง การบูชาเทียนจะทำโดยการจุดเทียนที่ผ่านการปลุกเสกมาแล้ว ซึ่งเทียนจะมีลักษณะที่แตกต่างจากเทียนที่ใช้ไหว้บูชาพระทั่วไป

เช่น เพื่อให้หายเจ็บหายไข้ เพื่อโชคลาภเงินทอง สะเดาะเคราะห์ เสริมดวง เสริมทรัพย์ ต่ออายุ ผัวเมียทะเลาะกันให้ดีกัน ผัวมีเมียน้อยไม่กลับบ้าน ให้มีคนเมตตา รักใคร่ ค้าขายดีมีกำไร ถูกใส่โทษปองร้าย บ้านมีผีดุหรือเจ้าที่แรงก็บูชาเทียน การจุดเทียนบูชานิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยอดีต และนิยมทำกันมาจนถึงปัจจุบัน

ทำงานอยู่ที่วัดมานานนับ 10 ปี พบว่าการบูชาเทียนนั้น แท้ที่จริงแล้วได้รับอิทธิพลมาจากพม่าผสมผสานทางล้านนา เพราะมีการจุดเทียนบูชานี้อย่างแพร่หลายในประเทศพม่า

ประเพณีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ซึ่งชาวพม่าเชื่อ ศรัทธาในเรื่องไสยศาสตร์…เป็นการทำที่ง่ายสะดวกสบายกว่าการทำไสยศาสตร์แขนงอื่น

“เทียนบูชา”…ไม่มีประวัติการสร้างว่านิยมทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่คนล้านนามีความเชื่อและยึดมั่นในเทียนบูชาของล้านนาจนเทียนเข้ามามีบทบาทในจารีตประเพณีมากขึ้น

ซึ่งทำให้จิตใจของผู้ได้บูชาเทียนแล้วได้มีจิตใจที่ตั้งมั่นต่อการทำกุศลต่อไป

การบูชาเทียนนั้นเป็นการสะเดาะเคราะห์ร้าย…กลับร้ายให้กลายเป็นดี ปัดเป่าเสนียดจัญไร ทุกข์โศก โรคภัย ก็จะหายไป

ส่วนวิธีจุดเทียน ให้เขียนชื่อ สกุล วัน เดือน ปีเกิดของผู้บูชาเทียน เขียนจากปลายเทียนลงมา

จุดบูชาเทียนเฉพาะวันที่เห็นว่าดีที่สุด ให้จุดบูชาระหว่างเวลา 05.24-08.30 น. หรือ 18.45-24.00 น. ควรจุดแล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ปรารถนา (ห้ามขอในสิ่งที่ผิดศีลธรรม) แล้วนำไปจุดหน้าหิ้งพระหรือหน้าบ้าน

ข้อสำคัญ…ให้ระวังไฟไหม้ด้วยเพราะเทียนใช้เวลา 4–5 ชั่วโมงกว่าจะดับ วางให้เทียนห่างๆกัน อย่าวางติดกันเพราะเทียนร้อนจะไหม้กันเอง หรือถ้าอยากจุดเทียนทั้งสองแท่งพร้อมกันก็ไม่ต้องแกะสายสิญจน์ออก จุดเทียนทั้งสองแท่งพร้อมกันได้เลย

“อย่าให้เทียนดับ โดยให้เทียนนั้นละลายไหม้จนดับไปเอง จุดเวลาใดก็ได้ และถ้าทำได้ก็จุดในวันเกิดของตนเอง เช่น เกิดวันจันทร์ก็จุดวันจันทร์ หรือวันไหนก็ได้ตามสะดวก สำหรับที่วัดพระสิงห์ จะมีสถานที่สำหรับให้จุดเทียนโดยเฉพาะ โดยทางวัดได้อาศัยต้นโพธิ์อายุนับ 100 ปี โดยสร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิดเพื่อให้จุดเทียนบูชา และจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลจนกว่าเทียนจะหมดเล่ม”

ผู้ดูแลเทียนบูชาแห่งวัดพระสิงห์ย้ำว่า ถึงจะไม่มีเคราะห์ก็ควรทำ ให้ทำไปเรื่อยๆ หนักก็จะเป็นเบา มีหลายเรื่องที่ได้พบได้เห็นมากับตัวเอง ทุกข์ของคนที่มาพึ่งพาวัด…ทั้งสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา บูชาโชค พระเมตตา กระทั่งบูชาราหู ไม่สบายหาหมอไม่หาย ก็มาจุดบูชาเทียนล้านนา

•••••••••••••••••••••••••

ล้านนาเป็นพื้นที่ที่มีรากฐานความเชื่อเรื่องผี พุทธศาสนา และพิธีกรรมแบบพราหมณ์ จึงอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค อาการเจ็บป่วยไว้ในลักษณะของความเกี่ยวพันระหว่างคนกับธรรมชาติแวดล้อม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผลของกรรม การกระทําาของผี ไสยศาสตร์ ดังนี้1.การเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกายของคนเราประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ําา ลม ไฟ หากธาตุทั้ง 4 ขาดความสมดุล เช่น อายุมากขึ้นทําาให้ธาตุ 4 เปลี่ยนแปลง หรือแม่หลังคลอดไม่ได้ “อยู่ไฟ” จะทําาให้เป็น”ลมผิดเดือน” สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง สุขภาพจิตไม่ปกติ 2. ภาวะจิตอ่อนแอ คนล้านนาเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ 32 ขวัญ คนที่ขวัญอ่อนหรือจิตอ่อน เมื่อเจอเรื่องตื่นเต้นตกใจ เรื่องที่ทําาให้ “สะเทือนขวัญ”

“เสียขวัญ” อาจทําาให้ “ขวัญหาย” คือสติไม่อยู่กับตัว ไม่ครบ 32 ขวัญ ทําาให้ป่วย หรือเสียสติได้ ต้องทําาพิธีเรียกขวัญหรือ ฮ้องขวัญให้กลับคืนมา3. เคราะห์ กรรม ชะตา ความเจ็บป่วยเกิดจากกรรมที่ได้กระทําามาทั้งในชาตินี้และชาติก่อนนั้น ผลของกรรมชั่วส่งผลก็จะทําาให้ชีวิตเจ็บป่วย มีปัญหา ที่เรียกว่า “ดวงตก” “มีเคราะห์” จึงต้องมีพิธีสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตา4. ถูกผีทําา คือ ผีมาทักทาย ผีมาขอส่วนบุญ หรือไปรบกวนผี ทําาให้ผีไม่พอใจจึงมาทําาร้าย โดยเฉพาะคนที่ดวงตกผีจะทําาร้ายได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทําาให้เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุได้ จึงต้องทําาพิธีเลี้ยงผี 5. ถูกผีกะเข้าสิง คนที่ขวัญอ่อน ขวัญหาย สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัวก็จะถูกผีเข้าได้ ผีกะเป็นผีกลุ่มเดียวกันกับผีโพง ผีปอบ ผีกระสือ ผู้ที่ถูกผีกะสิงจะมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป ควบคุมตนเองไม่ได้ จึงต้องมีพิธีไล่ผีโดยหมอที่มีวิชาความรู้6. ถูกคุณไสยมนตร์ดําา คนที่ถูกคุณไสย บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น จากคนเรียบร้อยเป็นคนอารมณ์ร้ายหงุดหงิดโมโหง่าย เหม่อลอย กระวนกระวายจึงต้องไปหาหมอพื้นบ้านหรือพะสงฆ์เพื่อรดหรืออาบน้ําามนต์ ถวายสังฆทาน 7. ขึด หมายถึง การกระทําาหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่ไม่ดี จะนําาความหายนะวิบัติ อัปมงคลมาสู่บุคคลหรือชุมชน จึงทําาพิธีถอน ขึดมีทั้งข้อปฏิบัติและข้อห้าม ช่วยให้ชุมชนสงบสุข ร่มเย็น และยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามไว้ เช่น ขึดเกี่ยวกับการสร้างบ้านเรือน การปฏิบัติตน กิริยามารยาทของบุคคล และการจัดพิธีศพหมอพื้นบ้านล้านนาหรือ “หมอเมือง” จึงต้องมีความรู้ผสมผสานทั้งเรื่องสมุนไพร การกินอยู่ มนต์คาถา โหราศาสตร์ และพิธีกรรมต่างๆ จึงจะสามารถให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ เช่น หาสาเหตุโรค โดยดูอายุ อาชีพ ครอบครัว ความประพฤติ อาหาร การกิน การเจ็บป่วยในอดีต ดูดวง คําานวณธาตุตามอายุ การเสี่ยงทายโดยหมอเมื่อ (หมอดู) ใช้คาถา นั่งทางใน ทําานายจากนิมิต

ทําาไมพิธีกรรมบําาบัดจึงมีความสําาคัญพิธีกรรมเป็นการรักษาที่สอดคล้องกับความคิด ความเชื่อของชาวล้านนา เมื่อเชื่อว่าสาเหตุของการเจ็บป่วยคือธาตุ 4 ไม่สมดุล ขวัญหาย มีเคราะห์ ถูกผีทัก ผีมาขอส่วนบุญ ถูกผีเข้า ถูกคุณไสย หรือทําาอะไรขึด การบําาบัดรักษาก็ต้องรักษาให้สอดคล้องกับเหตุ เช่น เมื่อขวัญหายก็ต้องเรียกขวัญ เมื่อมีเคราะห์ก็ต้องสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา พิธีกรรมจึงมีความสําาคัญสําาหรับชาวล้านนา ซึ่งจะทําาทั้งในช่วงที่มีปัญหาและทําาเป็นประเพณีวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมสําาหรับชาวล้านนาพิธีกรรมมีความสําาคัญต่อชีวิต ชาวล้านนาใช้พิธีกรรมในการแก้ปัญหาและส่งเสริมสุขภาพจิต ซึ่งพิธีกรรมแต่ละอย่างมีวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้ เพื่อหาฤกษ์ยาม เช่น ฤกษ์แต่งงาน ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่ ฤกษ์บวช มักจะไปขอฤกษ์จากพระภิกษุ หรือมัคทายกที่มีความรู้เพื่อขอคําาแนะนําาปรึกษาเมื่อมีปัญหาชีวิต เช่น การดูเมื่อ ลงผีหม้อนึ่งหาเจ้าทรง เพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เช่น การเลี้ยงผี การสะเดาะเคราะห์หรือส่งเคราะห์ การสวดถอนเพื่อสร้างขวัญและกําาลังใจ เช่น การสืบชะตา การฮ้องขวัญ ผูกข้อมือเพื่อความสงบของจิตใจ เช่น เข้าวัดฟังธรรม ถือศีล สวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อสร้างความร่มเย็น เช่น การเลี้ยงผีปู่ย่า ทําาบุญ “ตานขันข้าว”ให้ญาติผู้ล่วงลับถ้าวิเคราะห์วิธีการของหมอเมือง หรือหมอพื้นบ้านล้านนา ก็มีความคล้ายคลึงกันกับการบําาบัดของแพทย์แผนปัจจุบัน เริ่มด้วยการพูดคุยทักทายสร้างสัมพันธภาพ (small talk) และให้คําาปรึกษาแบบสั้น (Brief counseling) ด้วยการให้กําาลังใจ จูงใจและวางแผนการรักษาสั้นๆ โดยสุขภาพจิตดี… ด้วยวิถีล้านนา51ใช้พิธีกรรมเป็นสื่อ เป็นเครื่องมือโน้มน้าวจิตใจ เชิญชวน ชักจูง ให้คนไข้ได้รวบรวมสติกลับมาอยู่ที่ตัวเอง ปลุกพลังความเชื่อมั่นศรัทธาของคนไข้ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมที่จะเดินหน้าต่อสู้กับชีวิตต่อไป “ศรัทธาที่ขาดปัญญา พระท่านว่าคือความงมงาย” เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องที่อยู่ภายใน จับต้องไม่ได้ จึงยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย พิธีกรรมจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนเข้าใจเรื่องจิตใจง่ายขึ้น เป็นเครื่องมือเสริมสร้างกําาลังใจ ทําาให้รู้สึกอบอุ่นมั่นคง และช่วยให้จิตที่กําาลังฟุ้งซ่าน ล่องลอย เตลิดกระเจิดกระเจิง กลับมารวบรวม มีสติอีกครั้ง
•••••••••••••••••••••••••
พิธีกรรมสําาคัญของชาวล้านนา
ล้านนา เป็นดินแดนที่มีรากฐานความเชื่อทางพุทธศาสนา ผี และพิธีกรรมแบบพราหมณ์ การประกอบพิธีกรรมจึงยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน พิธีกรรมช่วยเสริมสร้างพลังใจ ทําาให้ผู้ที่กําาลังมีปัญหาชีวิต ผู้ป่วย มีขวัญและกําาลังใจในการต่อสู้ชีวิต ด้วยความเชื่อที่ว่าพิธีกรรมสามารถแก้ไข บําาบัดขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลให้ออกไปจากชีวิต ซึ่งจะทําาให้ชีวิตที่กําาลังทุกข์ยากลําาบากของผู้ประสบปัญหา ผู้ป่วย และญาติดีขึ้น พิธีกรรมล้านนาที่ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เช่น การสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ฮ้องขวัญ การสวดถอน ตานขันข้าว ปูจาเทียน และลงขอน ซึ่งพิธีกรรมบางอย่างจะทําาร่วมกัน
1. การสะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย พิธีกรรมที่จะทําาเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น เช่น การเจ็บป่วยที่รักษาไม่หาย ประสบอุบัติเหตุ ป่วยเป็นไข้ ไม่สบาย ค้าขายขาดทุน ทําางานผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายบ่อย ทําาอะไรก็มีปัญหาอุปสรรค ไม่ประสบความสําาเร็จ มีเคราะห์ร้ายต่างๆ บ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อกันว่าอาจมีสาเหตุมาจากถูกผีหรืออําานาจอื่นกระทําา บุคคลนั้นกําาลังมีเคราะห์ การแก้ไขอย่างหนึ่งคือ การส่งหรือการสังเวยแก่เทพหรือผีนั้นๆ การส่งเคราะห์จะทําาให้เคราะห์ทั้งหลายหายไปได้
ประเภทของการส่งเคราะห์
ส่งไฟไหม้ หรือ ปูจาส่งไฟไหม้ ส่งเคราะห์เมื่อเกิดไฟไหม้วัด บ้าน ยุ้งข้าว
ส่งแม่เกิด หรือส่งเกิด หรือ ส่งวานเกิด หรือ ส่งพ่อเกิดแม่เกิด เด็กหรือทารกป่วยกระเสาะกระแสะ จึงทําาพีธีส่งแม่เกิดและพิธีส่งวานเกิด ให้พ่อเกิดแม่เกิดและญาติ
ส่งนพเคราะห์ การทําาพิธีบูชาดาวนพเคราะห์ที่มีอิทธิพลต่อเจ้าชะตา เพื่อให้พ้นจากอาเพศเหตุร้ายที่จะเกิดกับเจ้าของชะตาชีวิต
ส่งโลกาวุฑฒิ หรือโลกวุฒิ เป็นพิธีส่งหรือการสังเวย กรณีที่ตําาแหน่งปลูกเรือนไม่ดีส่งหาบ หรือส่งหาบส่งคอน พิธีส่งหาบนี้ทําาขึ้นเมื่อเด็กที่มีอายุหนึ่งปีถึงสิบปี มีสุขภาพไม่ดีขี้โรค ป่วยบ่อย ส่งหาบส่งหาม เป็นพิธีกรรมของพรานป่าเพื่อเลี้ยงผีป่าที่ดูแลรักษาสัตว์ป่า เพื่อให้พ้นจากความเลวร้าย
ส่งอุบาทว์แปดประการ เมื่ออุบาทว์คือสิ่งที่นําามาซึ่งความเป็นเสนียดจัญไร ลางร้ายต่างๆ ปรากฏ จะทําาพิธี แก้ไขภายใน 3 วัน 5 วัน
ส่งเคราะห์เรือน เป็นพิธีกรรมที่จัดทําาขึ้นเมื่อเห็นว่ามีผู้ป่วยหนักจนอาจถึงแก่ชีวิต เมื่อทําาพิธีนี้แล้วจะทําาให้ผู้ป่วยนั้นพ้นจากความป่วยไข้หรืออุปัทวันตรายทั้งปวง และช่วยให้เกิดสิริมงคลแก่สมาชิกในเรือนหรือในครอบครัว
ส่งไข้ บางแห่งเรียกว่า ส่งผี หรือส่งเทวดา ทําาเมื่อสมาชิกในครอบครัวเดินทางไปทําาธุระ แล้วกลับมาเจ็บไข้ได้ป่วยมาในวันนั้นหรือว่าเจ็บปวดป่วยไข้อย่างกะทันหัน เชื่อว่าเป็นเพราะ “ถูกผีทัก” “ถูกเทวดาทัก”
ส่งกิ่ว “กิ่ว” หมายถึงชะตาชีวิต โชควาสนาหรือ“ดวง” ในกรณีที่บ้านเมืองเกิดมีอุบัติภัยหรือโรคภัยเช่นโรคระบาดต่างๆ หรือในกรณีที่บุคคลค้าขายขาดทุนหรือมีวิถีชีวิตลุ่มๆดอนๆโดยหาสาเหตุไม่พบการส่งกิ่วนี้จะช่วยให้ภาวะที่เลวร้ายดังกล่าวนั้นหมดไปได้
ส่งขึด คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการแก้ไขสภาพความอัปมงคลซึ่งตกแก่ผู้กระทําาผิดจารีตของชุมชน หรือที่เรียกว่า ต้องขึด ซึ่งจําาเป็นจะต้องแก้ไขโดยการ “ส่งขึดหรือถอนขึด”ส่งพญานาค เมื่อเจ้าของเรือนใหม่ได้เตรียมไม้เครื่องเรือนต่างๆ พร้อมแล้วก็จะขุดหลุมเพื่อจะลงเสาเรือนซึ่งก่อนที่จะขุดหลุมนั้น เจ้าของเรือนจะต้องทําาพิธี ส่งพญานาค หรือขอที่ดินจากพญานาคเสียก่อนทั้งนี้เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของบุคคลในเรือนนั้นๆ
วิธีการ การส่งเคราะห์จะต้องให้ผู้มีวิชาความรู้เป็นพ่อหนานหรืออาจารย์ซึ่งผ่านการบวชเป็นพระมาแล้ว มีความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นผู้ทําา โดยการจัดเตรียม “สะตวง” หรือกระทงเครื่องเซ่น มักทําากันล่วงหน้าก่อนหนึ่งวัน เมื่อถึงการประกอบพิธีการส่งเคราะห์ พ่อหนานผู้ประกอบพิธีจะเริ่มจากการบูชาขั้นตั้งหรือขึ้นขันตั้ง เพื่อรําาลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ จากนั้นเจ้าชะตาคนป่วยหรือกลุ่มคนที่จะทําาการส่งเคราะห์มานั่งด้านหน้า ผู้ประกอบพิธีจะอ่านโองการส่งเคราะห์ เสร็จแล้วผูกข้อเพื่อเรียกขวัญกําาลังใจ และประพรมน้ําาขมิ้นส้มป่อย เมื่อทําาพิธีเสร็จแล้วก็จะสะตวงไปวางตามทางแยกหรือทางสามแพ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีผีมาชุมนุมกัน
2.สืบชะตา หรือสืบจาต๋า พิธีกรรมแห่งมงคลชีวิต “พิธีสืบชะตา” เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนเมืองหรือคนล้านนามายาวนาน พิธีสืบชะตานั้นเป็นพิธีมงคล คําาว่า “สืบ” หมายถึงการต่อให้ยาวขึ้น “จาต๋า” หรือชะตาชีวิตของแต่ละคน พิธีนี้จึงเป็นพิธีกรรมในการต่ออายุให้ยืนยาวขึ้น การสืบชะตาจัดขึ้นในหลายโอกาส คือ การสืบชะตาคน นิยมทําาเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตําาแหน่งสูงขึ้น วันครบรอบเกิด เช่น 24 ปี 36 ปี 48 ปี 60 ปี 72 ปี เสริมสร้างกําาลังใจให้ผู้ทําามีชีวิตยืนยาวต่อไป นอกจากนี้ยังมีการสืบชะตาในกรณีฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีคนทักทายว่าชะตาไม่ดี จําาเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เชื่อว่าการสืบชะตาจะทําาให้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น เนื่องจากผ่านเคราะห์กรรมไปแล้ว พิธีสืบชะตาเป็นการเสริมกําาลังใจให้กับผู้ป่วยต่อสู้กับการเจ็บป่วย เพราะได้ “สืบชะตา”หรือได้ “ต่อชะตาอายุ”ของตนเองแล้ว และเสริมขวัญให้กับเป็นการรักษาทางใจให้กับผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง
สืบชะตาบ้าน นิยมทําาเมื่อคนในหมู่บ้านประสบความเดือดร้อน หรือเจ็บป่วยหรือมีการตายติดต่อกันมากกว่า 3 คน ขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน ชาวบ้านอาจทําาพิธีสืบชะตาบ้าน ในช่วงสงกรานต์ คือวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันปี๋ใหม่เมือง หรือวันสงกรานต์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลสืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ จะทําาให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย มีการจราจลการศึก หรือเกิดโรคระบาด ผู้ปกครองเมือง จึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดําาเนินต่อเนื่องสืบสืบชะตาหลวง เป็นการสืบชะตาแบบกลุ่มใหญ่ๆ มักทําาในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” ชาวบ้านในแต่ละชุมชนหรือแต่ละคุ้มวัด จะจัดให้มีพิธีสืบชะตาหลวงและพิธีการส่งเคราะห์ของคนทั้งชุมชน เพื่อความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของคนในชุมชน โดยส่วนใหญ่จะทําากันที่วัด
ฮ้องขวัญ หรือเรียกขวัญ พิธีกรรมเสริมพลังใจ ชาวล้านนา มีความเชื่อว่า คนเรามีขวัญ 32 ขวัญ อยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ขวัญแข้ง ขวัญขา ขวัญตา ขวัญใจ ขวัญคอ ขวัญหรือจิตมีความสัมพันธ์กับร่างกาย คือเมื่อร่างกายป่วย ขวัญก็จะอ่อนแอไปด้วย และเมื่อใดที่ขวัญอ่อนแอ เช่น เมื่อรู้สึกเครียด กลัว ตกใจ ที่เรียกว่า “ขวัญหาย” “ขวัญหนีดีฝ่อ”ร่างกายก็จะอ่อนแอด้วย ส่งผลให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร ซึมเศร้า นอนไม่หลับ จึงต้องมีการ “ฮ้องขวัญ” หรือเรียกให้ “ขวัญกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว” เหมือนเดิม เป็นการรักษาทางจิตใจ แต่ถ้าร่างกายป่วย “หมอเมือง” หรือหมอพื้นบ้านล้านนาก็จะรักษาด้วยสมุนไพร “พิธีฮ้องขวัญ” หรือ “สู่ขวัญ” เป็น พิธีกรรมของชาวล้านนาซึ่งมักจะทําาใน 2 กรณี คือ1. เมื่อประสบกับปัญหาหรือวิกฤตชีวิตที่ทําาให้ “ขวัญหาย” หรือ “ขวัญหนีดีฝ่อ” ไม่ว่าจะเป็นเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ประสบภัยพิบัติ ฯลฯ จึงมีการเรียกขวัญให้กลับคืนสู่ร่างกาย 2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น บวชเรียน แต่งงาน มีเหตุต้องจากบ้านไปไกล หรือในกรณีที่มีบุคคลสําาคัญมาเยี่ยมเยือนบ้านเมืองพิธีฮ้องขวัญเป็นพิธีกรรมชโลมใจ ปลอบใจ สร้างเสริมกําาลังใจ เนื่องจากคนล้านนามีความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงในชีวิตไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือไม่ดีล้วนก่อให้เกิดความเครียด การฮ้องขวัญเป็นการช่วยปลอบใจ ให้กําาลังใจ ทําาให้เกิดความอบอุ่นใจหรือมั่นใจในการดําาเนินชีวิตต่อไป การฮ้องขวัญของชาวล้านนามีหลายลักษณะ ได้แก่ การฮ้องขวัญเด็ก ขวัญลูกแก้ว (นาค) ขวัญสามเณร ขวัญผู้ป่วย ขวัญบ่าวสาว ขวัญผู้ที่จะเดินทางไกล ขวัญผู้ที่มาเยือน ขวัญผู้ใหญ่บ้านและอาจารย์วัด รวมทั้งขวัญข้าว ขวัญช้าง ขวัญวัวควาย ขวัญเรือน ขวัญเสา